|
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดเอ็มเอส หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ โรคปลอกประสาทอักเสบของระบบประสาทส่วนกลางชนิดเอ็มเอส (Multiple Sclerosis) มักพบในผู้ใหญ่ พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ช่วงอายุที่พบคือ 20-40 ปี อาการแสดงของโรคคือ กล้ามเนื้อแขน และขาอ่อนแรง ปรากฏอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ บางรายก็ส่งผลต่อการกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ แน่นอนว่าอาการที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตที่เปลี่ยนไป (1) หลายท่านคงทราบกันดีว่าการรักษาทางกายภาพบำบัดเป็นหนึ่งในการฟื้นฟูกำลังกล้ามเนื้อ ป้องกันการหดรั้ง การยึดติดของข้อต่อ และที่สำคัญคือ บรรเทาอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ การทำกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดเอ็มเอสนั้น นอกจากดูแลเรื่องอาการเกร็งของกล้ามเนื้อแล้ว ยังต้องให้ความใส่ใจในการฝึกกล้ามเนื้อบริเวณลำตัวด้วย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อแกนกลาง เนื่องจากเป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน กล้ามเนื้อหน้าท้องเป็นตัวหลักที่ทำให้ลำตัวตั้งตรง เป็นหลักยึดต่อการเคลื่อนไหวของแขน-ขา ไม่ว่าจะเป็น การเอื้อมหยิบของ การลุกขึ้นยืน การก้าวเดิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลพลอยได้อย่างตการเบ่งถ่าย หรือการกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะอีกด้วยอีกด้วย เพราะเมื่อกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อแกนกลางดี จะไปกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อกระบังลม, กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (pelvic floor) ซึ่งกล้ามเนื้อกระบังลม มีส่วนช่วยเพิ่มแรงดันในช่องท้องในการเบ่งถ่าย และกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานมีส่วนช่วยในการกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะนั่นเอง (2) กล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อแกนกลางถือว่าเป็นกล้ามเนื้อที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กัน ในปัจจุบันมีคำแนะนำถึงวิธีการรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดเอ็มเอส โดยใช้เทคนิควอยตา เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทำงานของกล้ามเนื้อดังกล่าว เพราะอย่างที่กล่าวมาข้างต้น กล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อแกนกลางนส่งเสริมเรื่อง การควบคุมการทรงท่า (postural control) วอยตาบำบัดเป็นเทคนิคที่ไปกระตุ้นต่อปฏิกริยาการเคลื่อนไหวอัตโนมัติที่ปรากฏตั้งแต่แรกเกิด การเคลื่อนไหวชนิดนี้คือ รีเฟล็กซ์การพลิกตะแคงตัว รีเฟล็กซ์การคืบคลาน เป็นรีเฟล็กซ์การเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดการพัฒนาการของวัยเด็กแรกเกิดจนถึง 1 ปีเศษ โปรแกรมนี้มีถูกสร้างขึ้นมาพร้อมกับการสร้างเซลล์สมองของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์
[url]https://biocian.com/[/url] |